ประวัติเจ้าอาวาสวัดโบสถ์แจ้ง |
|
อ้างอิง
อ่าน 4724 ครั้ง / ตอบ 0 ครั้ง
|
watbotjang
|

ชาติภูมิ เดิมชื่อ เล็ก นามสกุล ใยทา เกิดวันพุธที่ ๒ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๔๙๗บิดา นายสุวรรณ มารดา นางเตี้ยม นามสกุล ใยทา อยู่บ้านเลขที่ ๒๕ หมู่ ๘ ตำบลบ้านหมออำเภอบ้านหมอ จังหวัดสระบุรีอุปสมบท วันอาทิตย์ที่ ๒๑ เดือน พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๒๑ ณ พัทธสีมาวัดโบสถ์แจ้ง ตำบลตลาดน้อย อำเภอบ้านหมอ จังหวัดสระบุรี โดยมีพระอุปัชฌาย์คือ พระครูกสิณสังวร (ปาน ปภสฺสโร อดีตเจ้าคณะอำเภอบ้านหมอเกจิที่มือชื่อรูปหนึ่งของอำเภอบ้านหมอ) อดีตเจ้าอาวาสวัดโบสถ์แจ้งพระกรรมวาจาจารย์ พระครูธรรมกิจจานุกูล (หลวงพ่อสมบุญ ปุญฺญวฑฺฒโน) อดีตเจ้าอาวาสวัดโบสถ์แจ้งพระอนุสาวนาจารย์ พระอาจารย์แผ้ว ปญฺญาสาโร อดีตผู้ช่วยเจ้าอาวาสวัดโบสถ์แจ้งวิทยฐานะพ.ศ. ๒๕๒๖ สอบได้นักธรรมชั้นเอก สำนักเรียนคณะจังหวัดสระบุรีพ.ศ. ๒๕๔๗ สำเร็จการอบรมหลักสูตรพัฒนาบุคลากรคณะสงฆ์ภาค ๒ รุ่น ๓พ.ศ. ๒๕๔๙ ผ่านการอบรมโรงเรียนพระสังฆาธิการ รุ่น ๑๐ ณ วัดสามพระยางานการปกครองพ.ศ. ๒๕๓๓ ได้รับแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งเป็นรองเจ้าอาวาสวัดโบสถ์แจ้งพ.ศ. ๒๕๔๗ ได้รับการแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งเป็นผู้รักษาการแทนเจ้าคณะตำบลตลาดน้อยพ.ศ. ๒๕๔๗ ได้รับแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งเป็นเจ้าคณะตำบลตลาดน้อยพ.ศ. ๒๕๔๘ ได้รับแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งเป็นเจ้าอาวาสวัดโบสถ์แจ้งพ.ศ. ๒๕๕๐ ได้รับการแต่งตั้งเป็นพระอุปัชฌาย์
งานศึกษาสงเคราะห์งานตั้งทุนการศึกษาจัดตั้งทุนสงเคราะห์นักเรียนชั้นประถมศึกษา ประจำวัดวัดโบสถ์แจ้งโดยนำฝากธนาคารออมสิน สาขาอำเภอบ้านหมอจัดตั้งทุนสงเคราะห์นักเรียนชั้นมัธยมศึกษา ประจำวัดโบสถ์แจ้งโดยนำฝากธนาคารออมสิน สาขาอำเภอบ้านหมอเพิ่มทุนการศึกษาชั้นประถมศึกษาของวัดโบสถ์แจ้งทุกปีปีละ ๓,๐๐๐ บาทเพิ่มทุนการศึกษาชั้นมัธยมของวัดโบสถ์แจ้งทกปีปีละ๑๐,๐๐๐ บาท
งานมอบทุนการศึกษา
มี การมอบทุนการศึกษาทั้งร่วมกับคณะสงฆ์อำเภอและมอบทุนที่วัดโบสถ์แจ้งเองด้วย เพื่อเป็นการสนับสนุนเด็กๆและเยาวชนที่มีผลการเรียนดีแต่ด้อยโอกาสทางการ ศึกษา โดยมอบทุนในระดับประถมศึกษาและมัธยมศึกษางานเผยแผ่พ.ศ. ๒๕๒๗ ผ่านการอบรมหลักสูตรการศึกษาเพื่อความมั่นคงแห่งพระพุทธศาสนาพ.ศ. ๒๕๓๙ ผ่านการอบรมตามโครงการเสริมความรู้แก่พระสงฆ์เพื่อพัฒนาสังคมไทยของมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์พ.ศ. ๒๕๓๙ ผ่านการอบรมฝึกพูด ฝึกเทศน์ และฝึกหัดครู ตามโครงการพัฒนาศาสนบุคคลของคณะสงฆ์จังหวัดสระบุรีพ.ศ. ๒๕๔๐ สำเร็จการอบรมพระธรรมทูตรุ่นที่ ๒๕ จากโรงเรียนฝึกอบรมพระธรรมทูต วัดปากน้ำ กรุงเทพมหานครพ.ศ. ๒๕๔๐ ได้รับการแต่งตั้งเป็นพระธรรมทูตประจำอำเภอบ้านหมอพ.ศ. ๒๕๔๐ ผ่านการอบรมหลักสูตรพระนักเผยแผ่ ของกรมการศาสนากระทรวงศึกษาธิการพ.ศ. ๒๕๔๓ เข้าร่วมการอบรมเชิงปฏิบัติการ การเรียนการสอน โดยคณะสงฆ์จังหวัดสระบุรีและสถาบันราชภัฏเทพสตรีพ.ศ. ๒๕๔๔ ผ่านการอบรมเป็นพระนักเทศน์ประจำจังหวัด ตามโครงการฝึกอบรมพระนักเทศน์ของมหาเถรสมาคม ประจำปี ๒๕๔๓พ.ศ. ๒๕๔๔ เข้าอบรมในโครงการดูแลทรัพย์สินทางศิลปวัฒนธรรมของพระสังฆาธิการ ณ วัดพนัญเชิง จังหวัดพระนครศรีอยุธยาพ.ศ. ๒๕๔๕ สำเร็จหลักสูตรพระนักเทศน์ในเขตคณะสงฆ์หนกลาง ตามมติมหาเถรสมาคมพ.ศ. ๒๕๔๕ เข้ารับการอบรมตามโครงการพัฒนาภูมิปัญญาท้องถิ่นพ.ศ. ๒๕๔๐ ได้รับการแต่งตั้งเป็นพระธรรมทูตประจำอำเภอบ้านหมอพ.ศ. ๒๕๔๐ ถึงปัจจุบัน ออกปฏิบัติหน้าที่พระธรรมทูตตามอำเภอต่างในเขตจังหวัดสระบุรีกิจกรรมเกี่ยวกับการเผยแผ่มีการอบรมภิกษุสามเณร หลังจากทำวัตรเย็นแล้ว คือ มีการบรรยายธรรมวินัยให้ฟังในฤดูกาลเข้าพรรษาจะอบรมชี้แจงพระภิกษุสามเณรให้รู้ถึงภารกิจของตนเองมีการอบรมศีลธรรม ให้แก่อุบาสกอุบาสิกาและนักเรียนให้รู้ถึงหลักธรรมทางพระพุทธศาสนา มีความศรัทธาในคุณพระรัตนตรัยและสอนปฏิบัติตนให้ถูกต้องดีงาม ในปัจจุบันมีการบวชเนกขัมมะ(ชีพราหมณ์)ในวันสำคัญต่างๆเช่นวันมาฆบูชา วิสาขบูชา วันเฉลิมพระชนมพรรษา เป็นต้น ทุกปีในวันวิสาขบูชาจัดให้มีการบรรพชาอุปสมบทนาคหมู่ เพื่อเป็นการอนุเคราะห์สงเคราะห์แก่กุลบุตรที่มีศรัทธาที่บวชเพื่อศึกษาพระธรรมวินัย ในวันที่ ๒ เมษายนของทุกปี มีการจัดพิธีบรรพชาสามเณรภาคฤดูร้อน(ปัจจุบันกำลังดำเนินการบูรณะสำนักปฏิบัติธรรมที่เคยมีอยู่ของวัดโบสถ์แจ้งขึ้นมาใหม่ โดยกำลังก่อสร้างศาลาปฏิบัติธรรมอยู่ในขณะนี้)๑งานสาธารณูปการงานก่อสร้างถาวรวัตถุภายในวัดพ.ศ. ๒๕๓๒ ถึง๒๕๔๘ ได้รับหมอบหมายจากเจ้าอาวาสให้เป็นผู้ควบคุมการการก่อสร้างและบูรณปฏิสังขรณ์ถาวรวัตถุในวัดพ.ศ. ๒๕๓๓ ได้รับมอบหมายจากเจ้าอาวาสให้ดำเนินการก่อสร้าง โรงเรียนพระปริยัติธรรม ลักษณะทรงไทย๒ ชั้นก่ออิฐถือปูนพื้นปูหินอ่อนทั้งชั้นล่างและชั้นบนพ.ศ. ๓๕๓๕ ได้รับมอบหมายจากเจ้าอาวาสให้ดำเนินการก่อสร้าง โรงครัวประจำศาลาบำเพ็ญกุศล ลักษณะทรงไทยชั้นเดียว พื้นเทคอนกรีตเสริมเหล็ก ก่ออิฐถือปูน หลังคามุงกระเบื้องพ.ศ. ๒๕๓๖ ได้รับมอบหมายจากเจ้าอาวาสให้ดำเนินการก่อสร้างสำนักงานเจ้าอาวาส ลักษณะทรงไทย ๒ ชั้น ก่ออิฐถือปูนพื้นชั้นบนปูกระเบื้องชั้นล่างปูหินอ่อน หลังคามุงกระเบื้องพ.ศ. ๒๕๓๗ ได้รับมอบหมายจากเจ้าอาวาสให้ดำเนินการก่อสร้างหอฉันลักษณะทรงไทยชั้นเดียว ก่ออิฐถือปูน พื้นปูกระเบื้อง หลังคามุงกระเบื้องพ.ศ. ๒๕๓๙ ได้รับมอบหมายจากเจ้าอาวาสให้ดำเนินการก่อสร้าง โรงครัวประจำศาลาการเปรียญ จำนวน ๑ หลัง ลักษณะทรงไทย ๒ ชั้นชั้นบนเป็นไม้สักพื้นปูกระเบื้อง ชั้นล่างก่ออิฐถือปูน พื้นปูกระเบื้อง ชั้นล่างจัดทำเป็นห้องน้ำห้องพ.ศ. ๒๕๔๐ ได้รับมอบหมายจากเจ้าอาวาสให้ดำเนินการก่อ สร้างศาลาเอนกประสงค์ชั้นเดียว ตีเสาเข็ม พื้นเทคอนกรีตเสริมเหล็กหลังคามุงกระเบื้องพ.ศ. ๒๕๔๙ ดำเนินการก่อสร้างกำแพงวัดด้านทิศตะวันออก แบบก่ออิฐถือปูน ตอกเสาเข็ม ยาวพ.ศ. ๒๕๕๐ ดำเนินการก่อสร้างเต็นท์โครงเหล็กเอนกประสงค์พ.ศ. ๒๕๕๐ ดำเนินการก่อสร้างซุ้มเฉลิมพระเกียรติ ๘๐ พรรษาพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวพ.ศ. ๒๕๕๐ ดำเนินการก่อสร้างห้องน้ำ ห้องสุขา แบบก่ออิฐปูกระเบื้องพื้นและผนัง กว้าง ๒.๕๐ เมตร ยาว ๓.๐๐ เมตรจำนวน ๑๒ ห้อง เป็นเงิน ๒๘๓,๔๓๐ บาท
งานบูรณะปฏิสังขรณ์ถาวรวัตถุภายในวัดพ.ศ. ๒๕๓๒ ได้รับมอบหมายจากเจ้าอาวาสให้ดำเนินการบูรณะปฏิสังขรณ์กุฏีสงฆ์ทรงไทย ๒ ชั้น ๑ หลัง โดยการเปลี่ยนพื้นไม้ มุงกระเบื้องหลังคา )พ.ศ. ๒๕๓๒ ได้รับมอบหมายจากเจ้าอาวาสให้ดำเนินการบูรณะปฏิสังขรณ์กุฏีสงฆ์ทรงไทย ๒ ชั้นโดยการเปลี่ยนฝาเฟี้ยมใหม่ มุงกระเบื้องหลังคาใหม่พ.ศ. ๒๕๓๘ ได้รับมอบหมายจากเจ้าอาวาสให้ดำเนินการดีดศาลาการเปรียญยกขึ้นเพื่อต่อเติมชั้นล่างให้ใช้ในการบำเพ็ญกุศลได้ โดยปูหินอ่อนชั้นล่างและต่อเติมเสาใหม่กั้นฝาทุกด้านพ.ศ. ๒๕๓๙ ได้รับมอบหมายจากเจ้าอาวาสให้ดำเนินการต่อเติมศาลาการเปรียญให้กว้างขึ้น ลักษณะเป็นทรงไทย ๒ ชั้นชั้นบนและชั้นล่างปูหินอ่อน ฝาชั้นบนเป็นไม้สักฝาเฟี้ยมพ.ศ. ๒๕๔๒ ได้รับมอบหมายจากเจ้าอาวาสให้ดำเนินการบูรณปฏิสังขรณ์กุฏิเจ้าอาวาส ลักษณะทรงไทย ๒ ชั้นโดยทาสีใหม่เปลี่ยนพื้นชั้นบนใหม่พ.ศ. ๒๕๔๕ ได้รับมอบหมายจากเจ้าอาวาสให้ดำเนินการบูรณปฏิสังขรณ์ศาลาฌาปนสถาน เป็นแบบเสริมมุขให้กว้างก่ออิฐถือปูนปูกระเบื้องพ.ศ. ๒๕๔๖ ได้รับมอบหมายจากเจ้าอาวาสให้ดำเนินการบูรณปฏิสังขรณ์เตาเผาศพ (เมรุ) โดยซ่อมเตาเผาและ ปล่องควันพร้อมทาสีใหม่พ.ศ. ๒๕๔๗ ดำเนินการบูรณะปฏิสังขรณ์อุโบสถโดยซ่อมพระประธานใหม่เปลี่ยนฝ้า พร้อมทาสี ติดกระจกใหม่พ.ศ. ๒๕๔๘ ดำเนินการทาสีกำแพงแก้วรอบอุโบสถพร้อมทาสีซุ้มประตูใหม่กำแพงแก้วยาวพ.ศ. ๒๕๔๙ ดำเนินการบูรณะปฏิสังขรณ์วิหารอดีตเจ้าอาวาสใหม่ สร้างเป็นวิหารใช้กระจกรอบด้านพื้นปูกระเบื้อง ฝ้าฉาบหลังคามุงกระเบื้อง
พ.ศ. ๒๕๕๔ ดำเนินการบูรณปฏิสังขรณ์วิหารคดใหม่ทั้งหมด รวมทั้งดำเนินการตกแต่งรูปเขียนฝาผนังในวิหารคด โดยเคลือบน้ำยากันเชื้อราทุกรูปงานสาธารณสงเคราะห์
พ.ศ.๒๕๔๖ ได้รับมอบหมายจากเจ้าอาวาส ให้เป็นประธานจัดหาเงินสร้างสะพานข้ามคลอง ลักษณะปูด้วยลูกระนาดยึดน็อต เสาไม้กว้าง ๒.๐๐ เมตรยาว ๑๖ .๐๐ เมตร เป็นเงิน ๓๕,๐๖๐ บาทพ.ศ. ๒๕๔๘ ถึง ๒๕๕๐ บริจาคแก่องค์การบริหารส่วนตำบลตลาดน้อย เพื่อเป็นค่าอาหารในวันเด็ก ปีละ ๓,๐๐๐ บาท รวม ๓ ปีเป็นเงิน ๙,๐๐๐ บาทพ.ศ. ๒๕๔๙ บริจาคให้องค์การบริหารส่วนตำบลตลาดน้อย เพื่อร่วมแจกทุนการศึกษาแก่เด็กนักเรียนโรงเรียนในเขตการปกครอง จำนวน ๓โรงเรียน เป็นเงิน ๑๒,๐๐๐ บาทพ.ศ. ๒๕๔๙ บริจาคร่วมสร้างห้องรักษาพิเศษโรงพยาบาลบ้านหมออำเภอบ้าน จังหวัดสระบุรี เป็นเงิน ๔๐๐,๐๐๐ บาท(สี่แสนบาทถ้วน)พ.ศ. ๒๕๔๙ บริจาคให้สภาวัฒนธรรมองค์การบริหารส่วนตำบลตลาดน้อยจัดกิจกรรมในงานประเพณีแห่เทียนพรรษา ๑๕,๐๐๐ บาท(หนึ่งหมื่นห้าพันบาทถ้วน)พ.ศ. ๒๕๔๙ บริจาคร่วมสร้างโรงพยาบาลบ้านหมอ อำเภอบ้านหมอจังหวัดสระบุรี ๑๐,๐๐๐.๐๐(หนึ่งหมื่นบาทถ้วน)
๑๕. สมณศักดิ์ พ.ศ. ๒๕๓๒ เป็นฐานานุกรมของ พระครูเวชคามคณารักษ์อดีตเจ้าคณะอำเภอบ้านหมอ ที่ พระสมุห์พ.ศ. ๒๕๕๑ ได้รับพระราชทานสมณศักดิ์เป็นพระครูสัญญาบัตรเจ้าคณะตำบลชั้นโทที่พระครูโอภาสธรรมกิตติ์
อนึ่งในราวปี พ.ศ. ๒๕๓๒ หลวงพ่อตาบวัดมะขามเรียง ได้ขอให้ท่านไปสอนหนังสือคือสอนพระปริยัติธรรมในส่วนนักธรรมแก่พระภิกษุสามเณรที่วัดมะขามเรียง ทำให้ท่านพระครูโอภาสธรรมกิตติ์ได้มีโอกาสศึกษาวิชาต่างๆจากคำแนะนำ หลวงพ่อตาบมาด้วย โดยเฉพาะวิชาในการทำตะกรุด จึงนับได้ว่าท่านพระครูมีอาจารย์ที่มีความชำนาญและความสามารถด้านอักขระ วัตถุมงคลโดยท่านพระครูโอภาสธรรมกิติ์ได้ศึกษาพุทธาคมจากสุดยอดเกจิอำเภอบ้านหมอถึงสามรูปด้วยกันคือ๑.พระครูกสิณสังวร(หลวงปู่ปาน ปภสฺสโร) ซึ่งเป็นพระอุปัชฌาย์๒.พระครูธรรมกิจจานุกูล(หลวงพ่อสมบุญ ปุญฺญวฑฺฒโน) พระกรรมวาจาจารย์(ร่างกายท่านไม่เน่าเปื่อย อยุ่ในโลงแก้วที่วัดโบสถ์แจ้ง)
๓.พระครูเวชคามคณารักษ์(หลวงปู่ตาบ วัดมะขามเรียง)(ร่างกายท่านไม่เน่าเปื่อย อยุ่ในโลงแก้ววัดมะขามเรียง)ในส่วนการทำวัตถุมงคลของท่านพระครูโอภาสธรรมกิตติ์เองนั้น ได้จัดทำเพียงรุ่นเดียวในคราวได้รับแต่งตั้งเป็นพระอุปัชฌาย์ จัดทำออกมาถึง ๓ ครั้งด้วยกันเพราะไม่พอแจกจ่ายต่อศิษยานุศิษย์ของท่าน ครั้งแรกจัดทำออกมา ๕,๐๐๐ เหรียญ ครั้ง ที่ ๒ จำนวน ๓,๐๐๐ เหรียญ ครั้งที่ ๓ จัดทำมาอีก ๒,๐๐๐ เหรียญ ปัจจุบันเหลืออยู่ที่วัดไม่ถึง ๑๐๐ เหรียญ
|
|
watbotjang punya_j@hotmail.co.th [125.26.222.xxx] เมื่อ 14/01/2017 13:57
|