ฝากข้อความด่วน




อานิสงส์การบรรพชาอุปสมบท

เมื่อ 8/01/2012



คำว่า บรรพชา  หมายถึงการบวชเป็นสามเณร  อุปสมบท  หมายถึงการบวชเป็นพระ  เมื่อมุ่งถึงความหมายแห่งการบวชก็คือการออกจากความไม่สงบเพื่อต้องการความสงบนั่นเอง เพราะฆราวาสนั้นมีเรื่องที่จะทำให้เกิดความไม่สงบอยู่ด้วยกันหลายประการ  เช่น  ในเรื่องของครอบครัว   การประกอบอาชีพ
การ ต่าง ๆ   เป็นต้น  การบวชนั้นเป็นการมุ่งเพื่อที่จะหาความสงบ เพื่อตัดภาระเครื่องกังวลต่าง ๆ  ผู้ที่จะบวชเป็นพระหรือบวชเป็นสามเณรก็ตาม  ถ้าผู้นั้นบวชด้วยศรัทธาความเชื่อและปฏิบัติตามระเบียบวินัยต่าง ๆ แล้ว  ผู้นั้นย่อมได้รับความสงบอย่างแท้จริง  คือ
๑.   กายสงบ เพราะเกิดจากการไม่ได้ฆ่าสัตว์ ไม่ลักขโมย และไม่ประพฤติผิดในกาม
๒.   วาจาสงบ  เพราะไม่พูดคำเท็จ  ไม่พูดส่อเสียด  ไม่พูดคำหยาบ ไม่พูดเพ้อเจ้ออันหาสาระไม่ได้
๓.   ใจสงบ  เพราะไม่คิดที่จะอยากได้ของผู้อื่น  ไม่คิดทำร้ายผู้อื่น ไม่มีความเห็นผิด ซึ่งเป็นเหตุให้การทำ การพูดผิดไปด้วย
ผู้ที่จะบวชได้นั้นจะต้องมีคุณสมบัติดังนี้
๑.   ผู้บวชจะต้องเป็นมนุษย์และเป็นเพศชาย  มีอายุครบ ๒๐ ปี บริบูรณ์
๒.   ไม่เป็นโรคที่สังคมรังเกียจ
๓.   ผู้ที่จะบวชต้องได้รับอนุญาตจากบิดามารดา
๔.   ไม่มีหนี้สิน
๕.   ไม่เป็นผู้ที่มีคดีความ หรือมีความผิดทางกฎหมายบ้านเมือง
นอกจากคุณสมบัติทั้ง ๕ ประการดังกล่าวแล้วผู้บวชจะต้องเป็นผู้ที่มีความ
เห็น ชอบ หรือที่กล่าวกันว่า  สัมมาทิฏฐิ  มีความเลื่อมใสปรารถนาที่จะบวชและจะต้องมีพระภิกษุพร้อมที่จะให้บรรพชา อุปสมบทได้โดยถูกต้องตามพระวินัยที่พระพุทธเจ้าได้ทรงบัญญัติไว้  และจะต้องถูกต้องตามกฎระเบียบของทางคณะสงฆ์  การบวชนั้นจึงจะสมบูรณ์แบบ กล่าวคือ  เป็นพระภิกษุสามเณรที่ถูกต้องตามพระวินัยและถูกต้องตามกฎหมาย    เมื่อบวชเป็นพระภิกษุสามเณรและได้ศึกษาเล่าเรียนพระธรรมวินัย แล้วปฏิบัติตามพระธรรมวินัยที่ได้ศึกษาเล่าเรียนมานั้น  กล่าวได้ว่าได้ทำประโยชน์ให้เกิดขึ้นแก่ตนเอง  คือ เป็นผู้สงบ เป็นผู้มีศีล เป็นผู้บริสุทธิ์ เป็นต้น   นอกจากจะเป็นประโยชน์แก่ตนเองแล้ว  ยังกล่าวได้ว่าเป็นประโยชน์แก่ผู้อื่น ๆ คือ  ทำให้ผู้ที่มากราบไหว้ ได้รับมงคลคือบุญ ซึ่งเป็นเครื่องกรองความไม่ดีออกจากจิตใจ  เพราะว่า ผู้ที่กราบไหว้นั้น  ได้เห็น  ได้นั่งใกล้ ผู้ที่เป็นสมณะ
                ผู้ที่บวชเป็นพระภิกษุสามเณรและมีสมณสัญญา  คือมีความเข้าใจว่าตนเองเป็นสมณะอยู่เสมอ  ผู้นั้นย่อมเป็นประโยชน์ต่อพระพุทธศาสนาดังนี้
๑.            เป็นผู้ที่รักษาสมณวงศ์  หมายความว่า  พระภิกษุสามเณรซึ่งเป็นวงศ์สมณะ  พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงตั้งวงศ์สมณะ  พระภิกษุสามเณรที่บวชสืบต่อกันมานั้นกล่าวได้ว่าเป็นผู้รักษาสมณะวงศ์  ผู้บวชในปัจจุบันนี้ก็คือผู้สืบสกุล  โดยธรรมดานั้นวงศ์ตระกูลถ้าไม่มีผู้สืบต่อก็จะขาดสูญ  การที่พระภิกษุสามเณรยังมีปรากฏอยู่จนทุกวันนี้ ก็เพราะยังมีผู้ศรัทธาเลื่อมใสบวชต่อ ๆ กัน
๒.            เป็นผู้รักษาพระสัมมาสัมพุทธเจ้า  หมายความว่า  ผู้บวชแล้วศึกษาเล่าเรียนพระธรรมวินัย  ปฏิบัติตามพระธรรมวินัยที่ได้เล่าเรียนมานั้น พระธรรมวินัยก็จะไม่ขาดสูญ   เป็นเครื่องหมายบอกถึงว่าพระพุทธศาสนายังดำรงอยู่  ยังไม่หมดไปจากโลก  เป็นการช่วยรักษาป้องกันพระสัมมาสัมพุทธเจ้าให้อยู่เป็นคู่กับโลก
พระธรรมวินัยที่มีอยู่ในปัจจุบันนี้นั้นเป็นเสมือนกับ พระสัมมาสัมพุทธเจ้า 
การ ที่พระธรรมวินัยจะแผ่ขยายออกไป และเป็นประโยชน์แก่ปวงชนได้นั้น  พระภิกษุสามเณรจัดได้ว่าเป็นกลุ่มบุคคลที่จะต้องรักษาพระธรรมวินัยไว้  ด้วยการศึกษาเล่าเรียน ปฏิบัติตามคำสั่งสอนและสอนให้ผู้อื่นได้รู้ได้เข้าใจและปฏิบัติ  เพื่อที่จะได้นำความรู้ที่ได้จากการเรียนรู้และการปฏิบัตินั้นนำไปแก้ปัญหา ชีวิตประจำวันของตนเองให้ลุล่วงไปด้วยดี  โดยนำเอาพระธรรมวินัยนั้นเป็นเครื่องมือในการแก้ไขปัญหาต่าง ๆ    
        ในพระพุทธศาสนานั้น  ได้แสดงถึง      สิ่งที่ได้ยากไว้ ๔ ประการ  คือ ๑. การได้เกิดมาเป็นมนุษย์นั้นเป็นของยาก ธรรมะที่เป็นเครื่องส่งเสริมให้เกิดเป็นมนุษย์นั้น คือ  ศีล ๕  และ กุศลกรรมบถ ๑๐  ผู้ที่เกิดเป็นมนุษย์แล้วใช่ว่าจะเหมือนกันทั้งหมดเพราะว่าแต่ละคนนั้นต่าง กันโดยฐานะบ้าง  ต่างกันโดยภูมิปัญญาบ้าง  ต่างกันโดยคุณสมบัติอื่น ๆ บ้าง ที่เป็นเช่นนั้นเพราะว่าขาดองค์ประกอบ เช่น  ทาน   ความเมตตากรุณา  ความไม่อิจฉาริษยา  เป็นต้น  ส่วนผู้ที่ไม่มีศีล ๕ และผู้ที่ไม่มีกุศลกรรมบถ ๑๐   อธรรมเหล่านั้นจะส่งเสริมให้เกิดในฐานะที่เลวทรามต่ำต้อย เช่น เกิดเป็นสัตว์นรก   เปรต  อสุรกาย  สัตว์ดิรัจฉาน ซึ่งเป็นทุคติภูมิในปัจจุบันและในชาติต่อไป       ๒.  เมื่อเกิดมาแล้วจะมีชีวิตอยู่ได้นานนั้นก็ได้ยาก เกิดกับตายนั้นเป็นของคู่กัน  คนที่เกิดมาแล้วล้วนต้องการที่จะมีชีวิตอยู่บนโลกนาน ๆ นั่นก็คือ ไม่อยากตาย  แต่ความต้องการนี้กล่าวได้ว่าสำเร็จยากหรือไม่อาจจะทำให้สำเร็จได้  เพราะรู้ไม่ได้ว่าเราจะตายเมื่อไร     ๓. เมื่อเกิดมาแล้วจะได้ฟังธรรมก็เป็นเรื่องยาก  ในบางครั้งผู้ต้องการที่จะฟังธรรมมี  แต่ผู้ที่แสดงธรรมไม่มี หรือในบางครั้งผู้มีแต่ผู้แสดงธรรมแต่ผู้ฟังธรรมไม่มี  เมื่อเป็นเช่นนี้  ความต้องการที่จะฟังธรรมก็กล่าวได้ว่าเป็นของยาก       ๔. พระพุทธเจ้าจะเกิดขึ้นในโลกก็เป็นการยาก   พระสัมมาสัมพุทธเจ้าแต่ละพระองค์จะอุบัติขึ้นในโลกนั้น ต้องบำเพ็ญบารมี มาตลอดกาลนานถึงจะได้ตรัสรู้เป็นพระพุทธเจ้า  เรื่องทั้ง ๔ ดังกล่าวที่ว่ายากนั้นเพราะผู้จะปฏิบัติให้ถูกต้องครบถ้วนนั้นมีน้อย ซึ่งส่วนใหญ่มีแต่บกพร่องเป็นส่วนมากดังนั้น จึงกล่าวได้ว่าเป็นเรื่องยาก
                มารดาบิดาหรือผู้ที่เกี่ยวข้องที่อนุญาตให้กุลบุตรของตนได้บวชนั้น  ในโบราณกาลกล่าวไว้ว่ามีอานิสงส์เป็นกัลป์ ๆ  คือได้รับผลในด้านที่ดีหลาย ๆ ประการเป็นระยะเวลานาน  เหตุเพราะว่าการบวชนั้น เป็นการเสียสละครั้งสำคัญและอย่างสำคัญ  คือ  มารดาบิดาต้องสละกุลบุตร  สามีต้องสละภรรยา  ภรรยาต้องสละสามี   ผู้บวชต้องสละความสุขทุกอย่างที่ตนเคยมีเมื่อเป็นฆราวาส  เปลี่ยนชีวิตความเป็นอยู่จากเดิม  นอกจากที่กล่าวแล้วยังเป็นการส่งให้ลูกหลานของตนให้เข้าไปรับศาสนทายาท  คือเป็นผู้สืบต่อศาสนาในส่วนของสมณะ  หรือเป็นผู้รับมรดกคือ พระธรรมวินัยของพระพุทธเจ้า  ผู้ที่เป็นพุทธบิดาไว้  ดังที่พระองค์ตรัสไว้ว่า  ภิกษุทั้งหลาย  เธอจงเป็นธรรมทายาท อย่าเป็นอามิสทายาท   ที่พระพุทธองค์ตรัสเช่นนี้ เป็นการเตือนพระภิกษุทั้งหลายให้เกิดความสำนึกถึงความเสื่อมความเจริญแห่ง พระพุทธศาสนา  ถ้าพระภิกษุถือเอาอามิสเป็นสำคัญ  พระพุทธศาสนาก็จะเสื่อมไปเร็ว  แต่ถ้าพระภิกษุนั้นถือเอาพระธรรมวินัยเป็นสำคัญ  พระพุทธศาสนานั้นจะดำรงอยู่ต่อไปอีกนาน
                พระพุทธศาสนานั้นประดิษฐานอยู่ในประเทศไทยเป็นเวลานานได้นั้น ก็เพราะพระภิกษุเป็นธรรมทายาทเป็นส่วนมาก  ส่วนที่เป็นอามิสทายาทนั้นมีจำนวนน้อย  อีกทั้งพุทธศาสนิกชนชายหญิงยอมรับนับถือพระพุทธศาสนาเป็นศาสนาที่สมบูรณ์ ด้วยเหตุผล  ให้การสนับสนุนตามกำลังศรัทธาของตนและยึดมั่นในพระธรรมคำสั่งสอนขององค์ สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า  มารดาบิดาหรือเจ้าภาพที่ได้อนุญาตและจัดการให้กุลบุตรของตนได้บรรพชาอุปสมบท เป็นพระภิกษุสามเณร  จัดว่าเป็นผู้ที่ได้ช่วยทำสิ่งที่ยากให้เป็นสิ่งที่ง่าย ช่วยสร้างสรรค์ประโยชน์ให้เกิดแก่ปวงชน  ช่วยสืบต่อสมณะวงศ์ให้ยาวนานสืบต่อไปและได้เป็นศาสนทายาท  ผู้รับมรดกแห่งพระพุทธบิดา  คือพระสัมมาสัมพุทธเจ้า  เป็นผู้ที่ตั้งอยู่ในความไม่ประมาท  แสวงหาที่พึ่งแห่งตนและเครื่องป้องกันตนให้พ้นจากภัยคือ อบาย  ทั้งยังเป็นการป้องกันรักษาพระพุทธศาสนาให้พ้นภัย  ดำรงอยู่คู่กับชาติไทยและโลกสืบต่อไป

...............................

เครดิต
http://www.watsraket.com/ordination/27-06-2010
ความคิดเห็นของผู้เข้าชม
ชื่อผู้แสดงความคิดเห็น :
สถานะ : รหัสผ่าน :
ลิงค์ที่เกี่ยวข้อง :
รหัสความปลอดภัย :
 


เจ้าอาวาสรูปปัจจุบัน
 
บทความธรรมะ
ศีล ๕
อานิสงส์การบรรพชาอุปสมบท
อานิสงส์บวชชีพราหมณ์
สิ่งที่สูงกว่าเงิน
สติปัฎฐาน๔
ปุจฉา ถูกซุบซิบนินทาจะทำอย่างไร
ปรัชญาสร้างความสุขโดยพระธรรมโกศาจารย์
อบายมุข ๖
สติมาปัญญาเกิด
ใครลิขิตชีวิตเรา
กฐิน
ปัจฉิมโอวาท
อานิสงส์การอนุโมทนาบุญ
พิธีแสดงตนเป็นพุทธมามกะ
บทความน่าสนใจ
ปริวาสกรรมโดยสังเขป
ธงจรเข้และธงนางมัจฉา
บุญการถวายผ้าเป็นพุทธบูชา
การเวียนเทียน
ธรรมะสาระ
ประวัติวันแม่แห่งชาติ
การถวายสลากภัตต์
พิธีการกวนข้าวทิพย์
พิธีการรักษาศีลอุโบสถ
อภัพบุคคล
นามแห่งพระพุทธ
พุทธชยันตี
ประวัติตำบลตลาดน้อย
ปริวาสกรรมทั่วไทย
พระประวัติกรมหลวงชุมพรเขตอุดมศักดิ์
วันสำคัญ
วันสารทไทย
วันตรุษไทย
วันพระ วันธรรมสวนะ
วันอัฐมีบูชา
วันสงกรานต์
วันมาฆบูชา
วันวิสาขบูชา
วันลอยกระทง
เทโวโรหะณะ
วันออกพรรษา
วันเข้าพรรษา
วันอาสาฬหูบูชา
บทสวดมนต์ต่างๆ
พระคาถาต่างๆ
วีดีโอบทสวดและคาถา
แบนเนอร์ของเรา
โค๊ตแบนเนอร์เว็บของเรา
รวมเว็บไซต์ธรรมะ
เว็บไซต์ธรรมะออนไลน์
ปฎิทิน
May 2025
Sun Mon Tue Wed Thu Fri Sat
    
1
2
3
4
5
6
7
8
9
10
11
12
13
14
15
16
17
18
19
20
21
22
23
24
25
26
27
28
29
30
31
สถิติ
เปิดเมื่อ6/06/2011
อัพเดท22/11/2014
ผู้เข้าชม573656
แสดงหน้า707280
ฝากเมลล์รับข่าวสาร