ฝากข้อความด่วน




วันพระ วันธรรมสวนะ

เมื่อ 31/01/2012
 
 
 
 
 
วันพระ หรือ วันธรรมสวนะ หมายถึง วันประชุมถือศีลฟังธรรมในพุทธศาสนา(ธรรมสวนะ หมายถึง การฟังธรรม) กำหนดเดือนทางจันทรคติละ 4 วัน ได้แก่
 1.วันขึ้น 8 ค่ำ
 2.วันขึ้น 15 ค่ำ (วันเพ็ญ)
 3.วันแรม 8 ค่ำ
 4.วันแรม 15 ค่ำ (หากเดือนใดเป็นเดือนขาด ถือเอาวันแรม 14 ค่ำ)
          ในวันพระ พุทธศาสนิกชนถือเป็นวันสำคัญ ควรไปวัดเพื่อทำบุญ ถวายภัตตาหารแด่พระสงฆ์ และฟังธรรม สำหรับผู้ที่เคร่งครัดในศาสนาอาจถือศีลแปดในวันพระด้วย นอกจากนี้ชาวพุทธยังถือว่าวันพระไม่ควรทำบาปใดๆ การทำบาปหรือไม่ถือศีลห้าในวันพระถือว่าเป็นบาปยิ่งในวันอื่น วันโกน เป็นภาษาพูด หมายถึง วันก่อนวันพระ ๑ วัน
 
ประวัติความเป็นมา
            พระพุทธเจ้า ประทับ ณ ภูเขาคิชกูฏ กรุงราชคฤห์ ในครั้งนั้น พวกปริพาชกอัญญเดียรถีย์ พอถึงวัน๑๔ ค่ำ ๑๕ ค่ำ ๘ ค่ำ ประชุมกันกล่าวธรรม ชาวบ้านต่างพากันไปฟังธรรมกันด้วยความเลื่อมใส พระเจ้าพิมพิสาร ทรงดำริว่า พวกเดียรถีย์นอกพุทธศาสนา ประชุมกันแสดงธรรม ในวัน๑๔ ค่ำ ๑๕ ค่ำ ๘ ค่ำ เป็นที่นิยมเลื่อมใสของประชาชนถ้าพระคุณเจ้าทั้งหลายจะกระทำเช่นนั้นบ้าง ก็จะได้รับความเลื่อมใส จากเหล่าชาวบ้านเช่นเดียวกัน จึงทรงนำพระดำรินี้ ขึ้นทูลพระพุทธเจ้า
        พระพุทธเจ้าจึงประชุมสงฆ์ แล้วรับสั่งกับภิกษุทั้งหลายว่า...
'ภิกษุทั้งหลายเราอนุญาติให้ประชุมกันในวัน ๑๔ ค่ำ ๑๕ ค่ำ ๘ ค่ำ แห่งปักษ์'
           ในครั้งนั้น พวกภิกษุประชุมกันแล้วพากันนิ่งเฉยหมด ชาวบ้านเข้าไปหาภิกษุเหล่านั้น พากันตำหนิว่า ภิกษุเหล่านี้ ประชุมกันในวันพระแล้ว ทำไมจึงนั่งนิ่งเหมือนหมูอ้วนเล่า ธรรมเนียมของภิกษุประชุมกันควรผู้แสดงธรรมมิใช่หรือ
         พระพุทธเจ้าทรงทราบ จึงทรงอนุญาตให้มีการแสดงธรรมในวันพระ และต่อมาทรงเห็นว่า ควรจะนำเอาศีล ๒๒๗ ข้อของภิกษุ มาแสดงในวัน๑๔ หรือ ๑๕ค่ำ อันเป็นวันอุโบสถ ที่เรียกว่าปาติโมกข์ด้วย จึงเป็นประเพณีนับตั้งแต่นั้นมา (อุโบสถขันธกะ วินัย ๔/๑๙๕)
          พุทธศาสนิกชนจึงถือเอาวันดังกล่าวเป็น วันธรรมสวนะ ( สำหรับวันธรรมสวนะนี้ เมืองไทยมีมาตั้งแต่สมัยกรุงสุโขทัย )
วัน โกนวันพระนั้น เป็นวันทีสำคัญมากสำหรับสมัยก่อน เพราะถือเป็นวันหยุด และ เป็นวันที่พุทธศาสนิกชนเดินทางไปทำบุญที่วัด ฝ่ายทางพระก็จะมีการปลงผม ลงฟังพระปาติโมกข์ ทบทวนศีล 227 ข้อ
แต่ต่อมาในสมัยรัชกาลที่ 6 มีติดต่อกับประเทศทางตะวันตกมากขึ้น จึงมีการปรับเปลี่ยนไปใช้ปฏิทินแบบสุริยคติ แทน จันทรคติ ซึ่งชาวไทยใช้แบบจันทรคติมาแต่โบราณกาล คือ
แบบสุริยคติ ถือเอา พระอาทิตย์เป็นหลัก มีการหยุด วันเสาร์ อาทิตย์ แบบชาวตะวันตก เพราะ อิทธิพลของศาสนาคริสต์ ซึ่งถือว่า วันสุดสัปดาห์เป็นวันพักผ่อน เพราะไบเบิลบันทึกว่า วันอาทิตย์ เป็นวันพักผ่อนของพระผู้เป็นเจ้าหลังจากที่ทรงสร้างโลกมา
แบบจันทรคติ ถือเอา พระจันทร์เป็นหลัก มีการดูข้างขึ้น ข้างแรม ดูความเว้าแหว่งของดวงจันทร์ แล้ว กำหนดว่า วันไหนเป็น วันเพ็ญ วันข้างขึ้น วันข้างแรม วันกี่ค่ำ
แต่เมื่อประเทศไทยเข้าสู่เวทีโลก มีการเปิดประเทศ ติดต่อ ค้าขาย กับชาติตะวันตก ทำให้ต้องมีการปรับเปลี่ยนหลักการ นับวัน นับคืน เป็นแบบยุโรปตามไปด้วย หรือ ก็คือ นำเอาปฎิทินแบบสุริยคติมาใช้นั่นเอง
ดังนั้นจะว่าไปปฎิทินแบบสุริยคติ เลยกลายเป็นปฏิทินสากลที่ทั่วโลกยอมรับใช้กันอยู่ ในการติดต่อสื่อสาร ทำมาค้าขายในปัจจุบัน และ ปฎิทินแบบจันทรคติก็ค่อยๆ ลดบทบาทลง จนกระทั่งเป็นปฎิทินที่ใช้ในทางพระพุทธศาสนา ดูวันโกน วันพระ วันเพ็ญ และ ใช้ในทางโหราศาสตร์ ไปโดยปริยาย ไม่สามารถนำปฏิทินจันทรคติมาอ้างอิงในการติดต่อสื่อสาร ทำมาค้าขาย กับสากลโลกได้อีกต่อไป
 
ความคิดเห็นของผู้เข้าชม
ชื่อผู้แสดงความคิดเห็น :
สถานะ : รหัสผ่าน :
ลิงค์ที่เกี่ยวข้อง :
รหัสความปลอดภัย :
 


เจ้าอาวาสรูปปัจจุบัน
 
บทความธรรมะ
ศีล ๕
อานิสงส์การบรรพชาอุปสมบท
อานิสงส์บวชชีพราหมณ์
สิ่งที่สูงกว่าเงิน
สติปัฎฐาน๔
ปุจฉา ถูกซุบซิบนินทาจะทำอย่างไร
ปรัชญาสร้างความสุขโดยพระธรรมโกศาจารย์
อบายมุข ๖
สติมาปัญญาเกิด
ใครลิขิตชีวิตเรา
กฐิน
ปัจฉิมโอวาท
อานิสงส์การอนุโมทนาบุญ
พิธีแสดงตนเป็นพุทธมามกะ
บทความน่าสนใจ
ปริวาสกรรมโดยสังเขป
ธงจรเข้และธงนางมัจฉา
บุญการถวายผ้าเป็นพุทธบูชา
การเวียนเทียน
ธรรมะสาระ
ประวัติวันแม่แห่งชาติ
การถวายสลากภัตต์
พิธีการกวนข้าวทิพย์
พิธีการรักษาศีลอุโบสถ
อภัพบุคคล
นามแห่งพระพุทธ
พุทธชยันตี
ประวัติตำบลตลาดน้อย
ปริวาสกรรมทั่วไทย
พระประวัติกรมหลวงชุมพรเขตอุดมศักดิ์
วันสำคัญ
วันสารทไทย
วันตรุษไทย
วันพระ วันธรรมสวนะ
วันอัฐมีบูชา
วันสงกรานต์
วันมาฆบูชา
วันวิสาขบูชา
วันลอยกระทง
เทโวโรหะณะ
วันออกพรรษา
วันเข้าพรรษา
วันอาสาฬหูบูชา
บทสวดมนต์ต่างๆ
พระคาถาต่างๆ
วีดีโอบทสวดและคาถา
แบนเนอร์ของเรา
โค๊ตแบนเนอร์เว็บของเรา
รวมเว็บไซต์ธรรมะ
เว็บไซต์ธรรมะออนไลน์
ปฎิทิน
May 2025
Sun Mon Tue Wed Thu Fri Sat
    
1
2
3
4
5
6
7
8
9
10
11
12
13
14
15
16
17
18
19
20
21
22
23
24
25
26
27
28
29
30
31
สถิติ
เปิดเมื่อ6/06/2011
อัพเดท22/11/2014
ผู้เข้าชม573619
แสดงหน้า707242
ฝากเมลล์รับข่าวสาร